4 | | | ฟังเพลงเพราะๆ 24hr หรือรวมทุกข้อมูลการเล่นได้ที่นี่นะจ๊า | | |
Update v09-10-13

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

9Yin Review : คำภีร์มารแห่งการ PK!!!

9Yin Review : คำภีร์มารแห่งการ PK!!!

9ying Trip PK
9Yin Review: คัมภีร์มารแห่งการ PK..บทที่หนึ่ง!!!
                เนื่องด้วยเริ่มต้นเราก็บอกอยู่แล้วว่าเราไม่ใช่ไกด์เกมส์แบบ “โลกสวย” เพราะงั้นวันนี้เราเลยมาแนะนำเทคนิคที่น้อยคนนักที่จะรู้และต้องเล่นเท่านั้นถึงจะรู้เกี่ยวกับ การ PK และเมื่อ PK แล้วสิ่งที่คุณต้องทำคืออะไรบ้างเช่น ลดค่ากรรมอย่างไร หนีคดียังไง? จับศัตรูติดคุกยังไงให้ประสบความสำเร็จ และเทคนิคอื่นๆเกี่ยวกับการ PK เราจึงตั้งชื่อบทความนี้ว่า “คัมภีร์มารแห่งการ PK” ค่ะ
วิชาบทที่หนึ่ง
1. เปิด PK ยังไงคะ...
แหม่ไหนจะสอนแล้วก็สอนแบบจับมือกันไปเลยวิธีการเปิด PK ของเกมส์นี้เอาแบบเมพๆเลยนะคะ
P1.openPK
A. คลิกตรงนี้เพื่อเปิด PK
B. พอคลิก A เสร็จแล้วจะมีให้เลือกสองคำสั่ง
         a.Peace  คือโหมด “โลกสวย” ตีเค้าก่อนไม่ได้แต่โดนเค้าตีก่อนได้ ถ้าเค้าตีก่อนเราก็สวนแค่นั้นล่ะจบ
         b.Jianghu คือ “โหมดโหด” ที่ทำให้คุณสามารถโจมตีผู้เล่นอื่นได้ก่อนส่วนไอ้ที่ให้ ติ๊กเครื่องหมายถูกข้างๆนั่นคือให้ติ๊กว่า “เราจะไม่โจมตีผู้เล่นประเภทใด” ตรงนี้มีความจำเป็นมากนะคะเพราะถ้าคุณติ๊กผิดมันจะทำให้คุณ ตีโดนผู้เล่นอื่นๆที่คุณไม่ปรารถนาด้วยซึ่งจะนำมาซึ่งจำนวน “ตีน” ที่เพิ่มมากขึ้นหรือฆ่าโดนคนสำนักเดียวกันหรือกิลย์เดียวกัน เพราะฉะนั้นเลือกติ๊กให้ดีค่ะ
2. ดูค่ากรรมตรงไหนและเมื่อไหร่หัวจะแดง
P2.pkstate
เมื่อเราทำการ PK หรือ ฆ่าผู้เล่นอื่นไปแล้วค่า “กรรม” ของเราจะขึ้นซึ่งจะมากจะน้อยนั้นขึ้นกับว่าเราไปฆ่า “คนชนิดไหน” คนประเภทที่เราฆ่าแล้วค่า “กรรม” จะขึ้นมากที่สุดคือพวกที่เป็น “คนดี” หรือพวกที่มีรูป P1.star ที่หน้าชื่อนั่นเองซึ่งเราสามารถเชคค่ากรรมของเราได้โดยการกด C และดูตรง Infamy ค่ะโดยเรตสีของหัวเราจะเป็นสีอะไรขึ้นกับปริมาณค่า Infamy โดยค่ากรรมจะค่อยๆลดลงเองตามระยะเวลา
         A. หัวส้ม Infamy ประมาณ 400
         B. หัวแดง Infamy ประมาณ 2000 และแดงขึ้นเรื่อยๆ
         C. หัวม่วง Infamy เท่าไหร่มันก็คงไม่สนแล้วล่ะค่ะถ้ามันม่วงแล้วเนี่ย
P1.behead
3. ผลของการหัวแดงหรือมากกว่านั้น
      หัวส้ม ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นค่ะ
      หัวแดง หากคุณโดนฆ่าคุณจะติดคุก ระยะเวลาในการติดคุกขึ้นกับค่า “กรรม” ของคุณว่ามากน้อยปานใด
      หัวม่วง ติดคุกและรอวันโดนประหาร
4. เมื่อโดน Pkเราจะเสียอะไร?
เมื่อตัวละครของคุณโดน PK คุณจะติดค่าอ่อนแรง P1.dbuffโดยค่านี้จะไปลดอัตราการเคลื่อนที่ของคุณ และการโจมตีของคุณจะเบาลงโดยการที่คุณจะรักษาอาการ Dbuff นี้ได้คุณจะต้องไปตามจุดเกิดต่างๆ พวกจุดเซฟ และคุยกับ NPC หมอเพื่อทำการรักษาอาการนี้โดยการเสียค่า Cultivation เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนโดยค่า Cultivation จะเสียมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าคุณติดอาการนี้หนักหนาแค่ไหน
P1.doctor
5. ติดคุกแล้วทำไงให้ออกเร็วล่ะค้า
จำไว้ว่าหากคุณติดคุกด้วยกรณ๊ที่หัวแดงแล้วโดนฆ่า คุณจะต้องติดคุกไปจนกว่าหัวคุณจะส้มหรือไม่เช่นนั้นก็มีวิธีเหมือนกันแต่ต้อง “เสียตังค์” ตามระเบียบนั่นล่ะค่ะโดยวิธีการลดระยะเวลากรติดคุกในกรณีนี้มี 2 วิธีค่ะ
      A.จ่ายสินบนเจ้าพนักงานด้วย “เงินบน” เพื่อจะออกจากคุกและหัวคุณก็จะขาวสะอาดเตรียมทำกรรมต่อได้
        B.คือเล่น “ไฮโล” กะผู้คุมถ้าคุณชนะบ่อยๆเวลาในการติดคุกคุณก็จะน้อยลงตามครั้งที่คุณชนะผู้คุม แต่คุณสามารถพนันได้จำนวนครั้งจำกัดในแต่ละวัน
6.เทคนิคการลดค่า “กรรม”
มี 2 วิธีหลักๆดังนี้
A.หนีไปซ่อนที่ไหนก็ได้ให้ค่ากรรมลดเองเรื่อยๆ
B.ใช้สกิว “ขอทาน” ยิ่งสกิวแรงเท่าไหร่ขอตังค์ได้เยอะเท่าไหร่ยิ่ง ลดค่ากรรมเยอะเท่านั้นโดยใช้สกิวขอทานกับเพื่อนเราที่ติดค่า “กรรม” และเพื่อนเรากดตกลงค่ากรรมเค้าก็จะลดลงค่ะ
7.การตั้งค่าหัว
P1.PKconsta
อีกหนึ่งระบบป่วงและดูดตังค์กลับเข้าระบบมากๆของเกมส์นี้คือการ “ตั้งค่าหัว” เพราะเมื่อคุณถูกฆ่าบ่อยๆระบบจะเด้งอัตโนมัติเลยว่าคุณต้องการจะตั้ง “ค่าหัว” ไอ้คนที่ฆ่าคุณคนนี้หรือไม่โดยการตั้งค่าหัวนั้นจะเริ่มต้นที่ “10Liang” โดยใช้ “เงินบน” ในการตั้งนะคะและยิ่งคุณใส่ค่าหัวมากเท่าไหร่ เมื่อผู้เล่นเป้าหมายที่คุณตั้งค่าหัวไปถูกฆ่าโดย “มือปราบ” คนผู้นั้นจะไปติดคุกชนิดพิเศษซึ่งคุกที่ว่านี้ต้องอยู่ให้ครบเวลาไม่สามารถหนีหรือว่าจ่ายเงินติดสินบนเพื่อออกจากคุกได้โดยอัตราระยะเวลาความนานในการติดคุกนั้น เริ่มต้นที่ “10เหลียง จะติดคุกประมาณ 20นาที และเพิ่มขึ้น 20 นาทีทุกๆ 10เหลียงที่คุณจ่ายเพิ่มขึ้น”
ตัวอย่างเช่น
        ตั้งค่าหัวคนๆนึงไป 10เหลียง เมื่อคนๆนั้นโดน “มือปราบ” ฆ่าจะไปติดคุกอยู่ 20นาที แต่ถ้าตั้งไป 30 เหลียง คนๆนั้นก็จะติดคุกอยู่ที่ 1 ชั่วโมง โดยคนๆนั้นจะต้องออนไลน์เกมส์ตลอดเวลาที่ติดคุกไม่งั้นเวลาจะไม่ลดลง
เทคนิคการตั้งค่าหัว
        การตั้งค่าหัวนั้นเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากเวลาก่อนการ “กิลย์วอ” หรือเมื่อเกิดการปะทะระหว่างกิลย์ใหญ่ๆโดยเราจะมีผู้เล่นกลุ่มหนึ่งที่รับหน้าที่เป็น “มือปราบ” คอยฆ่าพวกคนที่เราตั้งค่าหัวไว้ โดยไอ้พวกมือปราบเนี่ยต้องเล็งแต่พวกที่โดนฆ่าหัวเท่านั้นถึงจะได้ผล การตั้งค่าหัวนั้นระยะเวลาที่เหมาะสมขึ้นกับกิจกรรมที่คุณต้องการทำให้สะดวก ณ ขณะนั้นเช่น ถ้ากิลย์วอ 1 ชม คุณต้องการให้ไอ้ศัตรูของคุณมันไม่สามารถมาเข้ากิลย์วอได้ด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ คุณก็ตั้งค่าหัวมันไว้ที่ 30เหลียง และส่งพวก “มือปราบ” ไปฆ่าให้ได้มันก็จะติดคุกเป็นเวลา 1 ชม ไม่สามารถมาร่วมกิลย์วอได้เป็นต้น ความสูงต่ำของการตั้งค่าหัวก็ขึ้นกับกิจกรรมที่คุณต้องการจะทำค่ะ
8. การรับมือปราบและการตั้ง หรือเพิ่มค่าหัว
ตรงนี้คุณจะต้องทำในที่ทำการเมืองของทุกเมืองหลักๆโดยเข้าไปที่จวนผู้ว่าและจะมี NPC ยืนอยู่ให้คุณคุยกับ NPC ดังนี้
8.1 ต้องการเป็นมือปราบให้คุณวิ่งเข้าไปหา NPC ตัวนี้ในจวนของเมืองหลักแต่ละเมืองและจ่ายเงิน จำนวนหนึ่งประมาณ 5เหลียงเพื่อสมัครเป็นมือปราบ
P1.BecomeConstable
        ข้อดี  ของการเป็น “มือปราบ” คือคุณจะไม่สามารถโดน “ตั้งค่าหัว” ได้และเมื่อคุณฆ่าพวกที่มีฆ่าหัวหรือตีพวกที่ลักพาตัวผู้เล่นออฟไลน์ภายในเมืองคุณจะได้ค่า “ความดี” เพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษและเมื่อคุณฆ่าพวกที่โดนค่าหัวตายคุณจะได้รับเงินค่าหัวของผู้เล่นคนนั้นๆเข้ากระเป๋าตังค์คุณอีกด้วย
        ข้อเสีย หากคุณไปทำการเปิด PK ใส่ใครก่อนสถานะ “มือปราบ” ของคุณจะหายไปทันที
8.2 หากคุณต้องการจะตั้งหรือเพิ่มค่าหัวของศัตรูของ
        ให้คุณวิ่งเข้าจวนผู้ว่าเหมือนกันและคุยกับ NPC อีกตัวตามรูปด้านล่างนี้
P1.NPCrisewarrant
        แต่ก่อนอื่นคุณจะต้องมีรายชื่อศัตรูของคุณใน Enemy list ของคุณก่อนคุณจึงจะตั้งค่าหัวเค้าเหล่านั้นได้ และคุณก็สามารถที่จะเพิ่มค่าหัวศัตรูของคุณที่ได้ตั้งไปแล้วให้สูงขึ้นได้อีกด้วย
เอาล่ะขอจบ คัมภีร์มารบทที่หนึ่งเพียงเท่านี้หวังว่าคงเป็นประโยชน์ในการป้องกันตัวจากภัยต่างๆของการ PK ให้เพื่อนๆได้ดีในระดับนึง ส่วนพวกที่จะใช้คัมภีร์นี้ในทางชั่วร้ายก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ด้วยเช่นกันค่ะสุดท้ายนี้ไม่ว่าจะใช้ดีหรือใช้ในทางเลวร้ายแต่ขอให้รักทีมงาน iTinMod นานๆก็พอค่ะ เล่นเกมส์อย่าซีเรียสนะคะสนุกๆค่ะแล้วเตรียมพบกับบทความเจิดๆแบบนี้ใหม่ได้ในบทความต่อไปจากทีมงานเราค่ะขอบคุณค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น